Story For You And Me

ความหมายของกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน

ความหมายของกฎหมายมหาชน
 อัลเบี้ยน ได้อธิบายว่า กฎหมายมหาชนคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐโรมัน
 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฏหมายทีเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน
 ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายว่า
กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎรในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือกว่าราษฎร
 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเองในฐานะที่เท่าเทียมกัน
 ดรปรีดีพนมยงค์ ได้อธิบายว่า กฎหมายมหาชนนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอันเนื่องมาจากการที่ประเทศแสดงตัวเป็นผู้ปกครองในพระราชอาณาจักร โดยรักษาความเรียบร้อยระเบียบการเก็บภาษี การที่ประเทศแสดงตัวออกนอกพระราชอาณาจักร เป็นผู้ทำการเกี่ยวพันกับประเทศอื่น
จำแนกกฎหมายมหาชน ออกเป็นสองอย่าง
1 กฎหมายมหาชนภายใน คือ จากการที่ประเทศแสดงตัวเป็นผู้ปกครองในพระราชอาณาจักรโดยรักษาความสงบเรียบร้อยระเบียบการเก็บภาษีอากรซึ่งหมายถึงกฎหมายปกครองกฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายการคลังนั่นเอง
 2 กฎหมายใหม่ชนภายนอก คือจากการที่ประเทศแสดงตัวนอกพระราชอาณาจักรเป็นผู้ทำการเกี่ยวพันกับประเทศอื่นหมายถึงกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองดังนี้เป็นต้น
 สำหรับนักศึกษา กดไปๆมาๆชนคือกฎเกณฑ์ทั้งหลาย ซึ่งฝ่ายปกครองเป็นผู้กำหนดขึ้นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ กับเอกชน และที่ฝ่ายปกครองมีฐานะเหนือกว่าราษฎรกล่าวคือ สามารถบังคับเอาได้ แม้เอกชนไม่สมัครใจก็ตาม
 กฎหมายเอกชนคือกฎหมายที่ว่าด้วยถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเองในฐานะที่เท่าเทียมกันและมีเสรีภาพ ในการเข้าไปมีนิติสัมพันธ์ด้วยสมัครใจกล่าวคือคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่สามารถบังคับเอากับอีกฝ่ายได้

6 ข้อความแตกต่างระหว่างกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน

ความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
หนึ่ง ความแตกต่างขององค์กรที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์หรือคุณสมบัติของบุคคลที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง
 กฎหมายมหาชน ใช่เมื่อผู้ปกครองเข้าไปมีนิติสัมพันธ์โดยเป็นกฎหมาย ที่ใช้แก่องค์กรของฝ่ายปกครองหรือ ในความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ปกครองและในความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองกล่าวคือ อ่าเป็นองค์กรของรัฐ กับองค์กรของรัฐหรือองค์กรของรัฐ หน่วยงานของรัฐ กับเอกชนดังนี้เป็นต้น
 กฎหมายเอกชนใช้เมื่อมีนิติสัมพันธ์ นั้นเกิดขึ้นระหว่างผู้อยู่ใต้ปกครองด้วยกันเอง คือเอกชนกับเอกชนโดยผู้ปกครองไม่มีส่วน เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
สอง ความแตกต่างของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนทั้งด้านเนื้อหาและความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์
 กฎหมายมหาชนหมายถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับประชาคม กฎหมายมหาชน มีความมุ่งหมายต่อประโยชน์ส่วนรวมของคนทั่วไปหรือสาธารณประโยชน์หลักกฎหมายสารบัญญัติที่ใช้กับ กฎหมายไม่ฉุนจึงแตกต่างกับกฎหมายสารบัญญัติที่ใช้ในกฎหมายเอกชน กล่าวคือ กฎหมายเอกชนมี ความประสงค์ตอบสนอง ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนแต่ละคน
กฎหมายเอกชน หมายถึง กฎเกณฑ์ทั้งหลายที่เกี่ยวกับประโยชน์ของเอกชน กฎหมายเอกชนมุ่งหมายไปยังประโยชน์ของแต่ละ คุณหรือเฉพาะบุคคล
 3 ความแตกต่างทางด้านรูปแบบหรือนิติสัมพันธ์
 กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นวิธีบังคับและหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นรูปแบบคำสั่งหรือข้อห้าม เรียกว่าการกระทำฝ่ายเดียวกล่าวคือเป็นการกระทำของบุคคลหนึ่ง กำหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายโดยฝ่ายหลังหนีไม่ได้ยินยอมด้วย กล่าวคือหลักกฎหมายมหาชนตั้งอยู่บนหลักพื้นฐาน การเน้นประโยชน์ สาธารณะของมหาชนเป็นสำคัญการให้รัฐมีสิทธิ์มากกว่าเอกชนให้สำคัญกับประโยชน์สาธารณะหรือความต้องการของมหาชนมากกว่าประโยชน์ของคู่สัญญาตามกฎหมายเอกชน ตัวอย่างเช่น การที่ฝ่ายปกครองปิดสัญญา เอกชนจะหยุดทำตามสัญญาไม่ได้ต้องทำต่อไปแล้วมาฟ้องเรียกค่าเสียหายทีหลังเท่านั้น เป็นตัวอย่างตามหลักกฎหมายมหาชนที่ให้รัฐมีสิทธิเหนือเอกชนในบางกรณีเพื่อให้สอดคล้องกับบริการสาธารณะที่รัฐต้องทำนั่นเอง
กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนอิสระในการแสดงเจตนา เช่นข้อสัญญาต่างๆกฎหมายเอกชนจะตั้งอยู่บน หลัก พื้นฐานความเสมอภาคและเสรีภาพ ในการทำสัญญา ดังจะเห็นได้ว่า สัญญาทางแพ่งนิติกรรมสองฝ่ายของเอกชนเมื่อคำเสนอ คำสนองถูกต้องตรงกัน สัญญาก็เกิด เมื่อสัญญาเกิด ถ้าหากชำระหนี้ไม่พ้นวิสัยคู่สัญญาจะต้องชำระหนี้ไม่ว่าจะขาดทุนมหาศาลหรือยากลำบากเพียงใดก็ตามการเปลี่ยนแปลงสัญญานั้น ก็ต้องอาศัย เจตนาคำสนองของคู่สัญญาถูกต้องตรงกัน จึงจะเปลี่ยนสัญญาได้และในสัญญาต่างตอบแทน หากคู่สัญญาฝ่ายใดไม่ชำระหนี้อีกฝ่ายสามารถงดปฏิบัติตามสัญญา ได้ เช่นในกฎหมายแพ่ง เช่นนี้ จำนองจำนำค้ำประกัน ทรัพย์สิน ในกฎหมายพาณิชย์เช่นซื้อขายเช่าซื้อเป็นต้น
 สี่ความแตกต่างทางด้านนิติวิธี
 นิติวิทยากฎหมายมหาชนคือแนวความคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ตามแบบของกฎหมายมหาชนเพื่อแก้ปัญหาต่างๆในกฎหมายมหาชนจะมีแนวทางในการ ไม่เอากฎหมายเอกชนมาใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นตามกฎหมายมหาชน
 นิติวิธีกฎหมายเอกชน คือแนวความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบตามแนวทางของ กฎหมายเอกชนเน้นความ สัมพันธ์ระหว่างเอกชน ต่อเอกชนด้วยกัน เช่นกฎหมายที่ ยอมรับและกำหนดสิทธิ์ ทางแพ่ง อันได้แก่ กฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัวเศรษฐกิจและอาชีพ เช่นกฎหมายแพ่งว่าด้วยครอบครัวซื้อ ขายเป็นต้น
 5 ความแตกต่างทางด้านนิติปรัชญา
 นิติปรัชญาทางกฎหมายมหาชนมุ่งประสานผลประโยชน์สาธารณะและผลประโยชน์ของเอกชนเพื่อให้เกิดความสมดุลกันของประโยชน์ทั้งสองฝ่ายกล่าวอีกนัยนึงคือเพื่อให้เกิดความยุติธรรมที่ความสมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวมอย่างหนึ่งกับสิทธิ์เสรีภาพของเอกชนอีกอย่างนึงและนิติกรรมทางปกครองตั้งอยู่ บล พื้นฐานของกฏหมายเสมอและฝ่ายปกครอง จะประสงค์ได้แต่ในเรื่องและวิธี ตามกฎหมาย กำหนดเท่านั้น
 นิติปรัชญาทางกฎหมายเอกชนนั้นมุ่งเน้นความยุติธรรมที่เท่าเทียมกันและตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานเสรีภาพแห่งความสมัครใจการไม่สมัครใจการข่มขู่บังคับการคนฉ้อฉลในกฎหมายเอกชนไม่ย่อมให้เกิดนิติสัมพันธ์ใดๆเกิดขึ้น หรืออาจมีผลทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆะแล้วแต่กรณี
 6 ความแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาลและวิธีพิจารณาคดี
 ความแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาลพิจารณาได้จากการจัดรูปแบบองค์กรในการวินิจฉัยคดีปกครองที่ใช้กันอยู่ในประเทศต่างๆซึ่งมีสองระบบใหญ่ๆดังนี้
 หนึ่งระบบศาลเดี่ยวคือระบบที่ให้ศาลยุติธรรมวินิจฉัยคดีทุกประเภทโดยผู้พิพากษามีคุณสมบัติและความรู้ทางกฎหมายเป็นการทั่วไปวินิจฉัยคดีปกครองระบบนี้ใช้ในประเทศที่เป็นระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เช่นอังกฤษ อเมริกาเป็นต้น
 สอง ระบบศาลคู่ คือระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้นส่วนคดีปกครองมีศาลปกครองเฉพาะ โดยมีองค์กรบริหารงานบุคคลและผู้พิพากษาซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะและเชี่ยวชาญทางกฎหมายปกครองเป็นพิเศษระบบศาลคู่นี้ใช้อยู่ในประเทศที ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ เช่น ฝรั่งเศสอิตาลีเยอรมันไทยเป็นต้น
 วิธีสบัญญัติ
 วิธีสบัญญัติกฎหมายมหาชน วิธีพิจารณาในศาลในกฎหมายมหาชนใช้ระบบ ไต่สวนซึ่งตุลาการจะเป็นผู้สืบหาข้อเท็จจริงข้อมูลและพยานหลักฐานตลอดเอกสารต่างๆด้วยตนเอง
 วิธีสบัญญัติกฎหมายเอกชน ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมจะใช้ระบบกล่าวหา


Natta9999999

กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะนิติศาสตร์บัณฑิต

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า

ร้านหนังสือแนะนำ