มงคลที่ 1 การไม่คบคนพาล
การไม่คบคนพาลเป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อที่จะไปต่อในมงคลถัดๆไป ถ้ามงคลนี้ทำไม่ได้แล้ว มงคลอื่นๆก็ยากที่จะทำได้
ทำไมพระพุทธเจ้าถึงได้ห้ามคบคนพาลจริงๆแล้วคนพาลไม่ได้อยากเป็นคนไม่ดี อยากดี แต่ทำไมถึงเอาดีไม่ได้ ก็เหมือนโจร ที่มันเป็นโจรก็เพราะว่า มันคิดว่าการเป็นโจรนั้น มันดีแล้ว ก็เพราะวินิจฉัยมันเสียไปซะแล้ว เลยแยกไม่ออกอะไรดี อะไรไม่ดี เช่น เหล้า คนวินิจฉัยเสีย ก็จะบอกว่าเหล้านี้แหละเป็นเครื่องสัมพันธไมตรี เป็นการเข้าสังคม แต่คนวินิจฉัยดีก็จะว่าเหล้า เป็นของมึนเมา กินเข้าไปก็จะมีแต่ทำให้ตัวเองอยู่ในความประมาท อาจทำให้ตนเอง หรือผู้อื่นเดือดร้อนได้ เพราะเป็นแบบนี้นี่แหละ ทำให้วิถีชีวิตของคนเรา แตกต่างกันไปตามวินิจฉัยที่ตนมี
การได้มาของวินิจฉัย
1 มิตร ได้แก่ใครบ้าง 1. พระพุทธเจ้า 2. พระอรหันต์ 3. พ่อแม่ 4. ครูบาอาจารย์ 5. เพื่อน เป็นต้น
(3-5 ต้องมีวินิจฉัยที่ดีด้วย) ต้องมีวินิจฉัยที่ดีด้วยถึงจะเอามาเป็นมิตรได้ เรียกว่ากัลยาณมิตร
ถ้ามีวินิจฉัยที่เสียจะเรียกว่าปาประมิตร
2 ตัวเอง
ในบางครั้งข้อมูลที่เราได้มานั้นถูกแล้ว แต่วินิจฉัยของเราเองที่ผิดไป ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้
คนบนโลกนี้ไม่ได้ดีไปทั้งหมด แม้แต่คนคนเดียวกันก็ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้เลย เช่น ตัวเราเองบทมันจะดีก็ดีขึ้นมาใจหาย บทมันจะร้ายก็ร้ายขึ้นมาซะงั้นอย่างนั้น ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ อยากจะดีต่อไปข้างหน้าก็ต้องเลือกคบคน
คนพาล ความหมาย คนที่อ่อนแอ คนไม่เข้มแข็ง คนที่ยังเยาว์อยู่ การที่จะเข้าใจความหมายของคนพาล ต้องเข้าใจเรื่องขุมกำลังก่อน
ขุมกำลังมี 4 อย่างด้วยกัน
1. ขุมกำลังกาย เช่น เกิดมาร่างกายแข็งแรง อวัยวะครบ เกิดมาสมบูรณ์ ไม่อ่อนแอ
ิ 2. ขุมกำลังความรู้ ได้มาจากการเรียนรู้ประสบการณ์ที่มากขึ้นตามอายุ รู้เหตุรู้ผล
3. ขุมกำลังความคิด บางคนมีความรู้ แต่ไม่มีความคิด ดั่ง สุภาษิต ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด
4. ขุมกำลังความดี มีสติ ควบคุมกิเลส ตัวเองได้
คนที่วินิจฉัยเสีย ใช้ได้แต่ขุมกำลังกาย ที่เหลือมีแต่ใช้ไม่ได้ ภาษาพระ เรียกว่า คนพาล เอากำลังทั้ง 4 ขุม มาใช้ได้ไม่หมด ไม่เข้มแข็งที่จะทำความดี
สาเหตุความเป็นพาล
ใจไม่ตั้งมั่น ใจไม่หยุดนิ่ง คิดไปเรื่อย ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว คิดโน่นคิดนี่ เลยทำให้ใจขุ่นมัว ใจเลยไม่โปร่งใส จนอึดอัด คับแค้น คิดไม่ได้คิดไม่ออก ไม่มีความสุข เลยไม่เหมาะต่อการที่จะเอาไปคิด เนื่องจากใจที่เป็นแบบนี้วินิจฉัยจึงเสีย
ลักษณะของคนพาล
1. คิดชั่วต่ำเป็นปกติ เช่น
-มีความคิดอยากได้ของผู้อื่นเป็นปกติ
-คิดพยาบาท โกรธแค้น ปองร้าย
-มีความคิดเห็นผิดเป็นชอบ เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ เช่น เรื่องศีลธรรมผิดๆอย่างรุนแรง ได้แก่ การทำทานไม่ดีไม่ควรทำไม่จำเป็น, การบูชาบุคคลที่ควรบูชาไม่จำเป็น, การต้อนรับการเชิดเชิญบุคคลดีๆมาบ้านไม่จำเป็น, กรรมที่ทำแล้วไม่มีผล, โลกนี้โลกหน้าไม่มี, สัตว์โลกที่เกิดในโอปปาติกะไม่มีจริง เช่น สัตว์นรก เปรต อสุรกาย
สมณะชี พราหมณ์ ไม่ทำให้กิเลสหมดไปได้
อะไรที่ทำให้ไปเกิดในนรกหรือสวรรค์
เปรียบได้ ผึ้งกับแมลงวัน ผึ้งเวลาออกไปหากิน ก็จะไปหาดอกไม้เพื่อเก็บน้ำหวานจากเกสร แต่แมลงวัน ชอบที่จะไปหาของเหม็นๆเน่าๆ ถามว่าอะไรที่บังคับให้มันไปแบบนั้น ก็เพราะความเสพคุณของมัน บังคับให้มันไปอย่างนั้น เหมือนคนชั่วเมื่อละโลกไปแล้วก็มีอบายภูมิเป็นที่ไป คนดีเมื่อละโลกไปแล้วก็มีสุคติเป็นที่ไป เพราะความเสพคุณของตนเองบังคับพาไป
2. พูดชั่วต่ำเป็นปกติ
1. พูดเท็จพูดโกหกพูดเพราะปากหวานแต่ใจคิดจะเชือดคออันนี้ก็ได้ชื่อว่าพูดเท็จ
2. ยุยงส่อเสียดเช่นเอาความข้างนู้นไปบอกข้างนี้ ทำให้เขาแตกแยกแม้เรื่องที่พูดจะเป็นความจริงก็ตาม
3. พูดคำหยาบ
4. พูดเพ้อเจ้อ
-เผยโทษของคนอื่น แม้ไม่มีใครถาม ถ้ามีคนถามก็จะพูดขยายความไปอีก
-ไม่ชอบเผยความดีของคนอื่น
-ชอบอวดความดีของตนเอง แม้ไม่มีใครถาม ถ้ามีคนถามก็จะพูดขยายความไปอีก
-ไม่ยอมเผยโทษของตนเอง
3. ทำชั่วต่ำเป็นปกติ
-ชอบฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดลูกเมียผู้อื่นเป็นต้น
บุคคลใดมีความประพฤติทั้งหมดตามที่กล่าวมานี้ ภาษาพระเรียกว่าอกุลศล 10 ประการ
กล่าวคือเป็นคนพาลแท้ๆ
โทษของความเป็นพาล
1. มีวินิจฉัยที่ผิดก่อนทุกข์ให้กับตนเอง
2. ทำลายประโยชน์ของตนเอง ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ทำให้ตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้
3ใ ทำลายประโยชน์ของผู้อื่น ทำความเดือดร้อนให้กับคนอื่น
4. เสียชื่อเสียง
5. ไม่มีคนนับถือ
6. ถูกเกลียดชัง
7. หมดสิริมงคล เหตุร้ายๆทั้งหลาย จะไหลเข้ามาหาตัว
8. ทำลายวงศ์ตระกูลตัวเอง
9. ละโลกไปแล้วมีอบายภูมิเป็นที่ไป เช่น สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสูรกาย เกิดใหม่ก็จะเป็นคนพิการ คนง่อย
วิธีสังเกตคนพาล
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า ให้ดูองค์ประกอบภายใน คือ ความประพฤติ เอาองค์ประกอบภายนอกมาวัดไม่ได้ เช่น รูปร่าง หล่อสวย เพศ อายุ วงศ์ตระกูล เชื้อชาติ ความรู้อาชีพ ทรัพย์ ตำแหน่ง ยศ
เพราะองค์ประกอบพวกนี้ไม่สามารถแยกได้ว่าใครดีหรือไม่ดี ใครเป็นคนพาลหรือบัณฑิต
ดังนั้นจึงต้องเอาองค์ประกอบภายในมาเป็นเครื่องสังเกต คือ ความประพฤติเพราะเนื่องมาจากใจโดยตรง
ืืื มีอะไรบ้าง
1. ชักชวนชักนำในทางที่ผิด
2. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ
3. ชอบทำแต่สิ่งที่ผิด
4. แม้พูดดีๆก็โกรธ
5. ไม่ยอมรับรู้วินัย
ประเภทของคนพาล
พาลภายนอก เช่น อันธพาลโจรขโมยโสเภณีจัดได้ว่าเป็นคนพาล
พาลภายใน เช่น ความคิดที่ไม่ดีของตัวเราเอง
แบบไหนที่เรียกว่าคบคนพาล
1. ไปมาหาสู่กับคนพาล
2. สนิทกับคนพาล
3. รักใคร่ชอบคอกับคนพาล
4. เลื่อมใสนับถือคนพาล
5. เป็นเพื่อนร่วมคิดร่วมเห็นกับคนพาล
6. เป็นเพื่อนร่วมกินร่วมอยู่กับคนพาล
7. ร่วมถ่ายทอดความประพฤติกับคนพาล
โทษของการคบคนพาล
1. ทำให้เราแปะเปื้อนเป็นมลทินด้วย เหมือนเอาใบตองดีๆไปหอบหลานเอา
2. ถูกติเตียนไปด้วย
3. ทำลายประโยชน์ของตนเอง
4. ภัยทั้งหลายไหลเข้ามา
5. เอาตัวเองไม่รอด
6. ละลูกไปแล้วมีอบายภูมิเป็นที่ไป
ประโยชน์การไม่คบคนพาล
1. ไม่หลงผิดมีวินิจฉัยไม่เสียรักษาบุญเดิมสร้างบุญใหม่
2. ไม่ถูกใส่ความไม่ถูกใส่ร้ายไม่ถูกติเตียน
3. ได้ชื่อว่าตั้งตัวไว้ชอบแล้ว
4. ได้รับความไว้วางใจ
5. ทำให้เป็นสุข
6. ไม่ถูกคนพาลทำร้าย
7. ตัดกำลังคนพาลไม่ให้ระบาดต่อไป
การคบคนพาลนั้นต่อให้เราดีแค่ไหนก็ตามก็จะทำให้เราเสียหายไปด้วย
วิธีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
1. มั่นห้ามใจตัวเองจากความชั่ว อบายมุขทั้งหลาย ก่อนจะลามต่อไป แม้จะเล็กน้อยก็อย่าไปตามใจ
2. อย่าตามนึกถึงความชั่วในอดีต เรื่องราวของคนพาลก็อย่าไปอ่านอย่าไปดู
3. ตั้งใจทำความดี
4. หากจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับคนพาล ยกตัวอย่าง ผู้บังคับบัญชา โบราณกล่าวไว้ว่า ให้ทำตัวเหมือนคนผิงไฟ ใกล้ไปก็สุขพอง ห่างเกินไปก็หนาว หรือ ผ่านช้างให้ห่างศอก ผ่านวอกให้ห่างวา
5. คบคนพาลได้กรณีเดียวคือ เพื่อสงเคราะห์เขา แต่ต้องมั่นใจคุณธรรมของเรามีกำลังพอ ไม่นั้นต้องถอยออกมา ขืนไปช่วยเขาจะทำให้เราจมน้ำไปด้วยทั้งคู่ อย่าใช้กำลังเกินตัว