ประมาณ ๑๒ ปี ก่อนพุทธกาล ประชาชนต่างตื่นตัวว่า อะไรคือ มงคลของชีวิต บางก็ว่าต้นไม้ บางก็ว่าสัตว์ บางก็ว่ารูปเคารพ
เรื่องราวอภิปรายนี้ ก็ได้ไปถึงหู ภูมิเทวดา คือเทวดาระดับพื้นดิน เทวดาก็สนทนากันว่าอะไร คือ มงคลชีวิต ประเด็นนี้ก็ได้ลุกลามไปถึง อากาศเทวา ไปถึงสวรรค์ชั้นต่างๆ จนถึงพรหมโลกชั้นสุทธาวาลซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ที่บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว มีความเข้าใจในเรื่องมงคลชีวิตเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายให้ละเอียดได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทราบว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในอีก ๑๒ ปี ข้างหน้า ให้ไปถามพระพุทธองค์ในตอนนั้น"
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งที่มหาวิหารเชตวัน ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกะเทวราช ได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า แล้วได้บัญชาให้เทพบุตรตนหนึ่งทูลถามว่า อะไรคือมงคลของชีวิต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงแสดงหลักมงคลชีวิตซึ่งมี ๓๘ ประการดังนี้
๒. การคบบัญฑิต
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร
๕. เคยทำบุญมาก่อน
๖. การตั้งตนชอบ
๗. ความเป็นพหูสูต
๘. การรอบรู้ในศิลปะ
๙. มีวินัยที่ดี
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
๑๑.การบำรุงบิดามารดา
๑๒.การสงเคราะห์บุตร
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา
๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง
๑๕.การให้ทาน
๑๖.การประพฤติธรรม
๑๗.การสงเคราะห์ญาติ
๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ
๑๙.ละเว้นจากบาป
๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
๒๒.มีความเคารพ
๒๓.มีความถ่อมตน
๒๔.มีความสันโดษ
๒๕.มีความกตัญญู
๒๖.การฟังธรรมตามกาล
๒๗.มีความอดทน
๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย
๒๙.การได้เห็นสมณะ
๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล
๓๑.การบำเพ็ญตบะ
๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์
๓๓.การเห็นอริยสัจ
๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก
๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส
๓๘.มีจิตเกษม